วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว กลุ่มเล็กที่สุดเรียกว่าครอบครัว ถัดขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ จนในที่สุดเป็นเมือง เป็นประเทศ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรค ฯลฯ ที่ชุมชนตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ จนเกิดเป็นการค้าขายระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล เมือง และประเทศ การติดต่อเช่นนี้ ทำให้เกิดการส่งและรับ ข้อมูลข่าวสารถึงกัน แรก ๆ ก็เป็นการบอกกันปากต่อปากต่อมามีการสื่อสารกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่าง ๆ ซึ่งต่อมากลายเป็นการส่งจดหมายถึงกัน ความต้องการการสื่อสารด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้นมีความรวมเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ซึ่งอาศัยหลักวิชาทางวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด ข้อความหรือภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เรียกว่า คลื่นวิทยุ) กระจายไปในอากาศ เมื่อถึงปลายทาง สัญญาณหรือคลื่นที่ส่งไปนั้นก็จะถูกคืนสภาพให้กลับเป็นคำพูด ข้อความหรือภาพเหมือนกับที่ส่งออกไปจากต้นทาง ทำให้ที่อยู่คนละซีกโลกกันสามารถรับรู้ ข้อมูลข่าวของกันและกันได้ภายในชั่วพริบตาเพราะอัตราความเร็วของการเดินทางของสัญญาณไฟฟ้าตามสายหรือของคลื่นวิทยุนั้นอยู่ในระดับเดียวกับความเร็วของแสง
              เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมานี้เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึงตัวเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร เราใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายวิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ (คำนวณ เปรียบเทียบ และตรวจสอบได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ) มารวมกับความสามารถของระบบโทรคมนาคม (ติดต่อได้รวดเร็วและกว้างไกล) ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการกับสารสนเทศนั่นเอง
ประวัติของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดจากการรวมกันของสองเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จึงย้อนกลับไปพิจารณาพัฒนาการของทั้งสองด้านคือ
เทคโนโลยีโทรคมนาคม
    
           จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีโทรคมนาคมคือการประดิษฐ์โทรเลขของแซมมวล  มอริส (Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตารมสายเป็นระยะทางไกล ๆ ได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษรเป็นรหัสที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น ….---…. การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387  และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2419 อเล็กซานเตอร์ แกรเฮม เบลล์ ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้น และได้ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรกที่เมืองนิวเฮเวนรัฐคอนเนตทิคัตสหรัฐอเมริกา
    
           ในเวลา 6 ปีต่อมานั้นเครือข่ายโทรศัพท์ได้ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็วจนในปัจจุบันทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ นับเป็นพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ด้านเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษบ์ขึ้นครั้งแรก ปี ค.ศ.1946 สามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ได้5ยุค คือ
ยุคที่หนึ่ง เทคโนโลยีหลอดสุญญากาศ (Vacuum tube technology)  ปี ค.ศ. 1951 - 1958
เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum tube)ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูงมาก ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดี แต่จะมีปัญหาในเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากและซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่ เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
ยุคที่สอง เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ (Transistor technology) ปี ค.ศ.1959 - 1964
คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ต้นทุนต่ำกว่า ใช้กระแสไฟฟ้าและมีความแม่นยำมากกว่า มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปแบบของสื่อแม่เหล็ก สามารถเขียนโปรแกรมระดับสูงได้
 ยุคที่สาม การรวมแผงวงจร (Intergrated Circuit : IC) ปี ค.ศ.1965 – 1671
คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ วงจรไอซี (Integrated Circuit) เป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะไว้แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิกอน (Silicon) เรียกว่า "ชิป"
ยุคที่สี่ การรวมแผงวงจรขนาดใหญ่ (Very Large-Scale Intergrated Circuit : VLSI) ปี ค.ศ. 1972 - 1980
คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ วงจร LSI (Large Scale Integration) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิกอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงาน พื้นฐานของคอมพิวเตอร์นั่นคือ CPU ลงชิปตัวเดียว เรียกว่า "ไมโครโพรเซสเซอร์"
 ยุคที่ห้า ยุคปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ.1980 ถึงปัจจุบัน หรืออาจเรียกว่ายุคปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)
คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ วงจร VLSI (Very-large-scale integration) เป็นการพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
 คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
           ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละ
คนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ทุกวันนี้มีข้อมูล
รอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ
แม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ

           เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ
เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ    การใช้ และการดูแลข้อมูล
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                  เทคโนโลยี่สารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก  เช่น
1.  การศึกษา  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล      ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด   ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
2.  การดำรงชีวิตประจำวัน  ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
3.  การดำเนินธุรกิจ  ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น  ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4.  อัตราการขยายตัวทุก ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย  รวดเร็วถูกต้องและ    ทำให้เป็นโลกที่ไร้พรหรมแดน
5.  ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น   งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
    
           คนเราทุกวันนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอก การรับรู้ข่าวสาร เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์การรับฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ โทรสาร ก็เป็นการใช้เทคโลยีสารสนเทศ นอกจากนั้น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัต (ตู้เอทีเอ็ม) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ไม่เฉพาะคนในเมืองเท่านั้น แม้แต่คนในชนบทก็ยังมีส่วนต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันด้วย เช่น เมื่อไปทำบัตรประจำตัวประชาชนที่อำเภอ ทางอำเภอจะเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลกลาง ของสำนักทะเบียน กระทรวงมหาดไทยซึ่งเชื่อมเป็นเครือข่ายไปทั่วไปประเทศ สามารถเรียกดูได้ทันที เราเรียกระบบที่ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายที่สามารถเยกใช้ทันที เช่นนนี้ว่า ระบบออนไลน์ ซึ่งมีประโยชน์มากและเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็นและได้ผลดีมาก เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกันทั่วประเทศ และสามารถเห็นได้พร้อมกันทั่วประเทศ อีกกรณีหนึ่งคือ การไปรับบริการรักษาตามโรงพยาบาล เมื่อก่อนนี้โรงพยาบาลต่าง ๆ มีระบบเวชระเบียน และผู้ป่วยแต่ละคนจะมีบัตรประจำตัวซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี เพราะเมื่อไปติดต่อครั้งต่อไปเจ้าหน้าที่จะขอดูบัตรหากไม่มีบัตรและเลขที่ประจำตัวไม่มีก็ค้นหาได้ยากมาก แต่ในปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการกับปัญหาดังกล่าว เพียงแต่ผู้ป่วยสามารถบอกชื่อนามสกุลได้
  
             เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเวชระเบียนออกมาได้ภายในเวลาชั่วพริบตาและในหลาย ๆ โรงพยาบาลนี้ที่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง ก็อาจไม่จำเป็นต้องมีเวชระเบียนที่เป็นเอกสารก็ได้ เพราะเวชระเบียนในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายไปปรากฎบนจอคอมพิวเตอร์ในห้องตรวจทันทีเมื่อแพทย์ทำการตรวจโรคและสั่งยา แพทย์ก็จะพิมพ์คำสั่งลงในเครื่องขณะเดียวกันคำสั่งก็จะถูกส่งไปแผนกที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกเอกซเรย์ แผนกจ่ายยาเป็นต้น


กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความ เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน  การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น  มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ  เช่น       การสื่อสาร  การธนาคาร   การบิน  วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม  การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์  สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถาน ที่  เช่น  การถ่ายทอดสด  การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา  การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่าง ๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน  สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล  สืบค้นข้อมูล  ฟังเพลง  รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน  ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน        
                การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย  เช่น  การใช้โทรศัพท์ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็น คลื่นสัญญาณไฟฟ้า และจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณเสียงที่เครื่องโทรศัพท์ปลายทาง  ส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือในการสื่อสารคลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่น สัญญาณไฟฟ้าวิ่งผ่านอากาศไปยังสถานีแม่ข่ายหรือดาวเทียมเพื่อส่งต่อคลื่นสัญ ณาณไฟฟ้าไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ปลายทาง  ดังนั้นเครื่องโทรศัพท์มือถือทั่วไปจะต้องมีเครื่องรับและส่งสัญญาณคลื่น เสียงที่เราพูดคุยกัน  และในปัจจุบันเราสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยการใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นที่สาม หรือ 3G ส่งสัญญาณเสียงและภาพพร้อมกัน โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ทำให้เราสามารถเห็นภาพของคู่สนทนาไปพร้อม ๆ กัน
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนมาเป็นสังคมสารสนเทศ ซึ่งในอดีตสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง ครั้งแรกจากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรที่รู้จักกับการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลทางการเกษตร ทำให้มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ต่อมามีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากและต้นทุนถูก จึงต้องหันมาผลิตแบบอุตสาหกรรม ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาเป็นสังคมเมือง มีการรวมกลุ่มอยู่อาศัยเป็นเมือง มีอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิต จนมาถึงปัจจุบันซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทมากขึ้น มีการใช้เครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่าง ๆ เกิดคำใหม่ว่า ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace)” มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใน ไซเบอร์สเปซ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้าและบริการ การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดสภาพเสมือนจริงมากมาย อาทิ ห้องสมุดเสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ที่ทำงานเสมือนจริง